Mosaic One5 ก.พ. 2563ยาว 1 นาทีเมนูโซเดียมสูง เสี่ยงไตพัง โซเดียม คือเกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก โดยทั่วไปร่างกายต้องการโซเดียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/วัน แต่ในชีวิตประจำวันของเราอาจจะบริโภคโซเดียมมากกว่านั้น โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่บริโภคแล้วไม่อันตราย คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเกลือประมาณ 1 ช้อนชา และหากได้รับปริมาณโซเดียมเกินความจำเป็นจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด มาดูกันว่า เราควรระวังปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารอะไรบ้าง อาหารส้มตำอีสาน 1 จาน ปริมาณโซเดียม 1,006 มิลลิกรัมข้าวไข่เจียว ปริมาณโซเดียม 362 มิลลิกรัมข้าวหมูกรอบ ปริมาณโซเดียม 700 มิลลิกรัมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง ปริมาณโซเดียม 1,500-2,000 มิลลิกรัมข้าวมันไก่ 1 จาน ปริมาณโซเดียม 1,184 มิลลิกรัมไข่เค็ม 1 ฟอง ปริมาณโซเดียม 300-500 มิลลิกรัมแฮมเบอร์เกอร์หมู 1 ชิ้น ปริมาณโซเดียม 480 มิลลิกรัม เครื่องดื่ม/ขนมหวานน้ำมะเขือเทศ 100% ปริมาณโซเดียม 498 มิลลิกรัมน้ำส้ม ปริมาณโซเดียม 65 มิลลิกรัมช็อคโกแลตปั่น ปริมาณโซเดียม 390 มิลลิกรัมชาเย็น 1 แก้ว ปริมาณโซเดียม 45 มิลลิกรัมครัวซองต์เนย ปริมาณโซเดียม 517 มิลลิกรัม อาหารทานเล่นเฟรนช์ฟรายด์ขนาดกลางโรยเกลือ ปริมาณโซเดียม 265 มิลลิกรัมมันฝรั่งอบกรอบ 20 ชิ้น (ซองเล็ก) ปริมาณโซเดียม 220 มิลลิกรัมไก่ป็อป ปริมาณโซเดียม 1,169 มิลลิกรัม เครื่องปรุงรสซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 220 มิลลิกรัมซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 140 มิลลิกรัมซีอิ้ว 1 ช้อนชา ปริมาณโซเดียม 420 มิลลิกรัมน้ำปลา 1 ช้อนชา ปริมาณโซเดียม 500 มิลลิกรัม นอกจากนี้โซเดียมยังแฝงตัวอยู่ในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเบ๊กกิ้งโซดา ผงฟู ที่เป็นส่วนผสมของอาหารประเภทเบเกอรี่ ขนมปัง ขนมเค้กทั้งหลาย หรือจะเป็นไดโซเดียมฟอสเฟต ที่อยู่ในไส้กรอก แฮม กุนเชียง ช่วยปรับความเป็นกรดด่างในเนื้อหมักให้มีความนุ่ม ในนม ช็อกโกแลต และไอศกรีมให้คงตัว และอื่นๆ อีกมากมาย อยากให้ชาวสุขเกษียณทุกๆท่านระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารกันด้วยนะครับ เพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเรา 😀
โซเดียม คือเกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก โดยทั่วไปร่างกายต้องการโซเดียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/วัน แต่ในชีวิตประจำวันของเราอาจจะบริโภคโซเดียมมากกว่านั้น โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่บริโภคแล้วไม่อันตราย คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเกลือประมาณ 1 ช้อนชา และหากได้รับปริมาณโซเดียมเกินความจำเป็นจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด มาดูกันว่า เราควรระวังปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารอะไรบ้าง อาหารส้มตำอีสาน 1 จาน ปริมาณโซเดียม 1,006 มิลลิกรัมข้าวไข่เจียว ปริมาณโซเดียม 362 มิลลิกรัมข้าวหมูกรอบ ปริมาณโซเดียม 700 มิลลิกรัมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง ปริมาณโซเดียม 1,500-2,000 มิลลิกรัมข้าวมันไก่ 1 จาน ปริมาณโซเดียม 1,184 มิลลิกรัมไข่เค็ม 1 ฟอง ปริมาณโซเดียม 300-500 มิลลิกรัมแฮมเบอร์เกอร์หมู 1 ชิ้น ปริมาณโซเดียม 480 มิลลิกรัม เครื่องดื่ม/ขนมหวานน้ำมะเขือเทศ 100% ปริมาณโซเดียม 498 มิลลิกรัมน้ำส้ม ปริมาณโซเดียม 65 มิลลิกรัมช็อคโกแลตปั่น ปริมาณโซเดียม 390 มิลลิกรัมชาเย็น 1 แก้ว ปริมาณโซเดียม 45 มิลลิกรัมครัวซองต์เนย ปริมาณโซเดียม 517 มิลลิกรัม อาหารทานเล่นเฟรนช์ฟรายด์ขนาดกลางโรยเกลือ ปริมาณโซเดียม 265 มิลลิกรัมมันฝรั่งอบกรอบ 20 ชิ้น (ซองเล็ก) ปริมาณโซเดียม 220 มิลลิกรัมไก่ป็อป ปริมาณโซเดียม 1,169 มิลลิกรัม เครื่องปรุงรสซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 220 มิลลิกรัมซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณโซเดียม 140 มิลลิกรัมซีอิ้ว 1 ช้อนชา ปริมาณโซเดียม 420 มิลลิกรัมน้ำปลา 1 ช้อนชา ปริมาณโซเดียม 500 มิลลิกรัม นอกจากนี้โซเดียมยังแฝงตัวอยู่ในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเบ๊กกิ้งโซดา ผงฟู ที่เป็นส่วนผสมของอาหารประเภทเบเกอรี่ ขนมปัง ขนมเค้กทั้งหลาย หรือจะเป็นไดโซเดียมฟอสเฟต ที่อยู่ในไส้กรอก แฮม กุนเชียง ช่วยปรับความเป็นกรดด่างในเนื้อหมักให้มีความนุ่ม ในนม ช็อกโกแลต และไอศกรีมให้คงตัว และอื่นๆ อีกมากมาย อยากให้ชาวสุขเกษียณทุกๆท่านระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารกันด้วยนะครับ เพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเรา 😀