
Q : สูงวัยหลายท่านอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ น้ำหนักตัว เมื่ออายุมากขึ้น เราควรน้ำหนักเท่าไหร่กัน?
A : จริงๆแล้ว น้ำหนักของสูงวัยยังคงสามารถใช้เกณฑ์แบบคำนวณแนะนำว่า การที่ผู้สูงอายุมีค่าดัชนีมวลกายเกิดค่าปกติเล็กน้อย ย่อมดีกว่า ค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า
ดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่
ค่าดัชนีมวลกาย
ค่า 18.6-22.9 = น้ำหนักปกติ
ค่า 18.5 = น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ค่า 23.0-24.9 = น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์
25.00-29.9 = ภาวะอ้วน
เมื่อผู้สูงอายุอายุมากขึ้น มันจะน้ำหนักลดลง อันเนื่องมาจาก กล้ามเนื้อในร่างกายค่อยๆ ลดลง รวมถึงอาการเบื่ออาหารจากโรคประจำตัวต่างๆ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของฟันและกระเพาะที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะขาดสารอาหารได้
ส่วนผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกิน อาจเกิดจากปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร การไม่ได้ควบคุมปริมาณ หรือ รสชาติอาหาร รวมถึงพฤติกรรม การออกกำลังกาย หากเกินเล็กน้อยก็สามารถควบคุมได้ แต่หากน้ำหนักเกินมากก็อาจส่งผลต่อ
เพื่อป้องกันและควบคุมให้น้ำหนักของผู้สูงอายุอยู่ในเกณฑ์ สูงวัยควรปฏิบัติดังนี้
-
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน ผักผลไม้ แป้งไม่ขัดสี และ ไขมันชนิดดี ลด ไขมัน ขนมหวาน แป้งขัดสีต่างๆ เครื่องดื่มน้ำตาลสูง
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง 2-3ครั้ง/สัปดาห์
-
ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค และรักษาได้ทันท่วงที