
อัลไซเมอร์ โรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ การหลงลืมมีตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ลืมเรื่องที่ไม่สำคัญ ไปจนถึงลืมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เราได้รวบรวม 5 วิธีป้องกันอาการหลงลืม จากอัลไซเมอร์
-
อ่านหนังสือใครรักการอ่านอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อม เพราะการอ่านหนังสือทำให้มีสมาธิและใจเย็นลง เพิ่มการใช้สมองในการบันทึกเรื่องราวๆ ความรู้ใหม่ๆ
-
เล่นดนตรี, ร้องเพลงเป็นฝึกสมองซีกซ้าย ช่วยฝึกสมาธิ ฟื้นความจำระยะยาว การเล่นดนตรีจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย และสงบลง เพลงจะลดความเครียดและให้เกิดอารมณ์ด้านบวกแล้ว สามารถดึงความทรงจำเก่า ๆ กลับมาได้ผ่านอารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุการณ์ตอนนั้นที่มีต่อเพลงนี้ได้ ยิ่งถ้าได้ฟังทุกวัน เชื่อมต่อเพลงเข้ากับกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้จะเกิดการโฟกัสกับปัจจุบันได้ง่ายขึ้น เพลงจะช่วยให้จิตใจกับร่างกายของพวกเขาสัมพันธ์กันได้ผ่านการเต้นตามเพลง และการร้องตามเพลงยังทำให้สมองทำงานมากขึ้น
-
เรียนคำศัพท์ /ภาษาใหม่ๆทฤษฎีบอกว่าคนที่เรียนหลายภาษาสามารถนึกหรือดึงตัวเลือกคำศัพท์ได้หลากหลาย ก่อนที่จะเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีที่สุด และนั่นก็ถือเป็นกลไกเบื้องของสมองที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า สมองของเราได้ถูกใช้งานในส่วนใหม่ๆ ในทุกวัน การเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ไม่เคยมีคำว่าสายเกินไปสำหรับการพัฒนาระดับสติปัญญาและความแข็งแรงของสมอง
-
ทำงานศิลปะ,งานฝีมือ, งานคราฟท์ไม่ใช่เพียงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีไว้ผ่อนคลาย หรือ เพื่อความเพลิดเพลิน แต่ยังช่วยฝึกสมาธิ ช่วยเยียวยาปัญหาด้านจิตใจ ลดความเสี่ยง “โรคซึมเศร้า” รวมถึงงานฝีมือบางชนิดจำเป็นต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีก ในการประสานงานกัน
-
เกมลับสมอง ไม่ว่าจะเป็น หมากรุก sudoku เกมบิงโก เกมเศรษฐี ถือเป็นการกระตุ้นให้สมองซีกขวาได้ทำงาน ในการวางแผน ตัดสินใจ คิดโต้ตอบต่างๆ
-
ออกกำลังกาย นอกจากจะเสริมสร้างความแข็งแรงของปอดและหัวใจ ช่วยให้สมองสดชื่น ซึ่งช่วยชะลอการเกิดอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์สมองตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นสมองในฐานะอวัยวะชิ้นหนึ่งก็ได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายตามไปด้วย